เมนู

3. มหาอุกกุสชาดก



ว่าด้วยสัตว์ 4 สหาย


[1891] พวกพรานชาวชนบท พากันมัดคบเพลิง
อยู่บนเกาะ ปรารถนาจะกินลูกน้อยของเรา ข้าแต่
พญาเหยี่ยว ท่านจงบอกมิตรและสหาย จงแจ้งความ
พินาศแห่งหมู่ญาติของเรา.

[1892] ข้าแต่พญานกออก ท่านเป็นนกที่
ประเสริฐกว่านกทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอยึดท่านเป็นที่พึ่ง
พวกพรานชาวชนบทปรารถนาจะกินลูกน้อยของ
ข้าพเจ้า ขอท่านจงช่วยให้ข้าพเจ้าได้รับความสุขเถิด.

[1893] บัณฑิตทั้งหลาย ผู้แสวงหาความสุข
ทั้งในกาลและมิใช่กาล ย่อมทำบุคคลให้เป็นมิตรสหาย
ดูก่อนเหยี่ยว ฉันจะกระทำประโยชน์อันนี้แก่ท่านจงได้
ที่จริง อริยชนย่อมกระทำกิจให้แก่อริยชน.

[1894] กิจอันใด ที่อริยชนผู้มีความอนุเคราะห์
จะพึงกระทำแก่อริยชน กิจอันนั้น ชื่อว่า อันท่าน
กระทำแล้ว ขอท่านจงรักษาตัวเถิด อย่ารีบร้อนไป
นักเลย เมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่เราก็จะได้ลูกคืนมาเป็นแน่.

[1895] ฉันกระทำการรักษาป้องกันนั้น แม้ถึง
ตัวจะตายก็มิได้สะดุ้งเลย แท้จริงสหายทั้งหลายผู้ยอม

สละชีวิต กระทำเพื่อสหายทั้งหลาย นี่เป็นธรรมดา
ของสัตบุรุษทั้งหลาย.

[1896] นกออกตัวนี้ซึ่งเป็นอัณฑชะ ได้กระทำ
กรรมที่ทำได้แสนยาก เพื่อประโยชน์แก่ลูกเหยี่ยว
ตั้งแต่ยามครึ่งจนถึงเที่ยงคืนไม่หยุดหย่อน.

[1897] แท้จริง คนบางพวก ถึงจะเคลื่อนคลาด
พลาดพลั้งจากการงานของตน ก็ยังตั้งตัวได้ด้วยความ
อนุเคราะห์ของมิตรทั้งหลาย พวกลูกทั้งหลายของ
ข้าพเจ้าเดือดร้อน ข้าพเจ้าจึงรีบมาหาท่านเพื่อขอให้
ท่านเป็นที่พึ่งอาศัย ดูก่อนเต่าผู้เป็นสหาย ขอท่าน
ช่วยบำเพ็ญประโยชน์แก่ข้าพเจ้าเถิด.

[1898] บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมทำบุคคลให้เป็น
มิตรสหายด้วยทรัพย์ ข้าวเปลือกและด้วยตน ดูก่อน
เหยี่ยว ข้าพเจ้าจะกระทำประโยชน์นี้แก่ท่านให้จงได้
เพราะอริยชนย่อมทำกิจแก่อริยชน.

[1899] คุณพ่อครับ ขอคุณพ่อจงมีความขวน-
ขวายน้อยอยู่เฉย ๆ เถิด บุตรย่อมบำเพ็ญสิ่งที่เป็น
ประโยชน์เพื่อบิดา ผมเองจักป้องกันลูกทั้งหลายของ
พญาเหยี่ยว จักบำเพ็ญประโยชน์เพื่อคุณพ่อ.

[1900] ลูกเอ๋ย บุตรพึงบำเพ็ญสิ่งที่เป็น
ประโยชน์เพื่อบิดา นี้เป็นธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย
โดยแท้แล พวกพรานทั้งหลายแลเห็นพ่อผู้มีกายอัน

ใหญ่โต ที่ไหนเลยจะเบียดเบียนลูกทั้งหลายของพญา-
เหยี่ยวได้.

[1901] ข้าแต่พญาราชสีห์ประเสริฐด้วยความ
แกล้วกล้า สัตว์และมนุษย์เมือตกอยู่ในภัยแล้ว ย่อม
เข้าไปหาผู้ประเสริฐ พวกบุตรของข้าพเจ้าเดือดร้อน
ข้าพเจ้าจึงรีบมาหาท่านเพื่อขอให้ท่านเป็นที่พึ่งอาศัย
ท่านเป็นเจ้านายของข้าพเจ้า ขอท่านได้โปรดช่วยให้
ข้าพเจ้าได้รับความสุขด้วยเถิด.

[1902] ดูก่อนพญาเหยี่ยวผู้สหาย ฉันจะบำเพ็ญ
ประโยชน์นี้เพื่อท่านให้จงได้ เรามาไปด้วยกันเพื่อ
กำจัดหมู่ศัตรูของท่านนั้นเสีย วิญญูชนรู้ว่าภัยเกิดขึ้น
แก่มิตร จะไม่พยายามเพื่อคุ้มครองมิตรอย่างไรได้.

[1903] บุคคลพึงคบมิตรสหายและเจ้านายไว้
เพื่อได้รับความสุข เรากำจัดศัตรูได้ด้วยกำลังแห่งมิตร
เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยบุตรทั้งหลาย บันเทิงอยู่
เหมือนเกราะที่บุคคลสวมแล้ว ป้องกันลูกศรทั้งหลาย
ได้ฉะนั้น.

[1904] ลูกน้อยทั้งหลายของเรา เปล่งเสียงอัน
จับใจร้องรับเราผู้ร้องหาอยู่ ด้วยการกระทำของพญา
เนื้อผู้เป็นมิตรสหายของตนซึ่งมิได้หนีไป.

[1905] แน่ะเธอผู้ต้องการสิ่งที่น่าปรารถนา
บัณฑิตได้มิตรสหายแล้ว ย่อมปกปักรักษาบุตร ปศุสัตว์

และทรัพย์ไว้ได้ ฉัน บุตร และสามีของฉันด้วย เป็น
ผู้พร้อมเพรียงกัน เพราะความอนุเคราะห์ของมิตร
ทั้งหลาย บุคคลผู้มีพระราชาและมีมิตรผู้กล้าหาญ
สามารถจะบรรลุถึงประโยชน์ได้เพราะสหายเหล่านี้
ย่อมมีแก่ผู้มีมิตรธรรมอันบริบูรณ์ บุคคลผู้มีมิตรสหาย
มียศ มีตนอันสูงส่ง ย่อมบันเทิงใจอยู่ในโลกนี้ด้วย.

[1906] ข้าแต่พญาเหยี่ยว มิตรธรรมทั้งหลาย
แม้ผู้ที่ยากจนก็ควรทำดูซีท่าน เราพร้อมด้วยหมู่ญาติ
เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ด้วยความอนุเคราะห์ของมิตร
นกตัวใดผูกมิตรไว้กับผู้กล้าหาญ มีกำลัง นกตัวนั้น
ย่อมมีความสุขเหมือนฉันกับเธอฉะนั้น.

จบมหาอุกกุสชาดกที่ 3

อรรถกถามหาอุกกุสชาดก


พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระมหาวิหารเชตวัน ทรง
พระปรารภอุบาสกผู้ผูกมิตร ตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อุกฺกา มิลาจา
พนฺธนฺติ
ดังนี้.
ได้ยินว่า อุบาสกนั้นเป็นบุตรแห่งตระกูลเก่าแก่ในพระนครสาวัตถี
ส่งสหายไปให้ขอกุลธิดาคนหนึ่ง. กุลธิดานั้นถามว่า ก็มิตรและสหาย
ที่สามารถแบ่งเบากิจที่เกิดขึ้นของเขามีไหมละ. ตอบว่า ไม่มี. ครั้นกุลธิดานั้น
กล่าวคำว่า ถ้าเช่นนั้น เขาต้องผูกมิตรไว้ก่อนเถิด. เขาตั้งอยู่ในคำตักเตือนนั้น
เริ่มกระทำไมตรีกับคนเฝ้าประตูทั้งสี่ก่อน แล้วได้กระทำไมตรีกับหน่วยคุ้มกัน
พระนคร และอิสรชนมีมหาอำมาตย์เป็นต้น แม้กับท่านเสนาบดีและกับพระ-
อุปราช ก็กระทำไมตรีไว้ด้วย ครั้นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับชนเหล่านั้นได้
ก็กระทำไมตรีกับพระราชาโดยลำดับ ต่อจากนั้น ก็ได้กระทำไมตรีกับพระ
มหาเถระ 80 องค์ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้กับพระอานนท์ ก็ได้กระทำไมตรี
กับพระตถาคตเจ้า. ทีนั้นพระศาสดาก็ทรงโปรดให้เขาดำรงในสรณะและศีล.
พระราชาเล่าก็โปรดประทานอิสริยยศแก่เขา. เขาเลยปรากฏนามว่า มิตตคันถกะ
นั่นเเหละ. ครั้งนั้น พระราชาประทานเรือนหลังใหญ่แก่เขา โปรดให้กระทำ
อาวาหมงคล. มหาชนตั้งต้นแต่พระราชาส่งบรรณาการให้เขา ครั้งนั้นภรรยา
ของเขาก็ส่งบรรณาการ ที่พระราชาทรงประทาน ไปถวายแด่พระอุปราช ส่ง
บรรณาการที่พระอุปราชส่งประทานไปให้แก่เสนาบดีเป็นลำดับไป ด้วยอุบาย
นี้แหละ ได้ผูกพันชาวพระนครทั่วหน้าไว้ได้. ในวันที่เจ็ดจัดมหาสักการะ
เชิญเสด็จพระทศพลถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์ประมาณ 500 รูป มีพระพุทธเจ้า